วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาการทำสีรถยนต์

ปัญหาสีย่น สีแตกลายงา

สี ย่น หรือสีแตกลายงา เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น ได้จากหลายสาเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นอู่มาตรฐาน หรืออู่ข้างทาง เพราะขึ้นอยู่กับฝีมือ ความสามารถและ ประสบการณ์ของช่างพ่นสี บางครั้งเกิดขึ้นได้ ในขั้นตอนการทำงาน บางครั้งเกิดขึ้นหลังจาก ส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าไปแล้ว นานหลายเดือนก็มี สามารถแยกสาเหตุใหญ่ๆได้ดังนี้

1. เกิดจากช่างพ่นสีทิ้งช่วงระยะเวลาระหว่างพ่นน้อยเกินไป เนื่องจากพ่นสีหนาเกินไป ทำให้สีที่พ่นในเที่ยวแรก ยังแห้งตัวไม่สนิท แห้งไม่ทัน เมื่อพ่นทับในเที่ยวต่อไป ก็จะเกิดอาการย่นขึ้นมา สามารถแก้ไขได้โดยการลอกสีทิ้งแล้วพ่นใหม่

2. เกิดจากการโป๊วพลาสติค ที่มีความชื้นมากเกินไป เมื่อพ่นสีทับหน้าลงไป เกิดการระเหยตัวของความชื้นด้านใต้ ดันสีจนย่นหรือพองตัวขึ้นมา แก้ไขได้โดยลอกสีทิ้งถึงชั้นสีโป๊วพลาสติคแล้ว เริ่มขั้นตอนการทำงานใหม่

3. เกิด จากสีที่ใช้พ่นต่างชนิดกันกับ สีเดิมที่ใช้พ่นมา เช่นใช้สีแห้งเร็วพ่นทับสีแห้งช้า ก็เกิดปฏิกริยาเคมีทำให้เกิดสีย่นได้เช่นกัน ทางแก้ไขก็คือลอกทิ้ง พ่นใหม่

4. เกิด จากทินเนอร์ หรือ แลคเกอร์ หรือสารเคมีอื่นที่ใช้ เสื่อมคุณภาพ ก็ทำให้เกิดอาการสีย่นได้เช่นเดียวกัน ทางแก้ไขคือลอกทิ้งแล้วพ่นใหม่

5. อาการ แตกลายงา เกิดจากสีโป๊วเก็บรอย ที่ช่างเรียกกันว่า สีโป๊วแดง หนามากเกินไปเมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดอาการแตกร้าว ทางแก้ไขก็คือ ลอกทิ้งสถานเดียว

ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในการพ่นสี

1. ฝุ่นและสิ่งสกปรกในฟิล์มสี (PAINT SEED, DUST)

สาเหตุ

1. มีสิ่งผิดปกติในปืนพ่นสี. หัวปืน และสายลมในการพ่นสี

2. มีสิ่งสกปรกปะปนในสี หรือบนชิ้นงาน

3. มีฝุ่นละออกในห้องพ่น (ห้องพ่นสีเป็นระบบเปิด)

ควรพิจารณาดังนี้
1. มีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรก ปะปนในหรือทินเนอร์หรือไม่?

2. มีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกบนชิ้นงานหรือไม่?

3. มีความผิดปกติในปืนพ่นสีหรือไม่?

4. มีฝุ่นละอองในบริเวณห้องพ่นสีหรือไม่?

วิธีการแก้ไข

เมื่อพิจารณาแล้วว่ามีสิ่งผิดปกติ ควรปรับปรุงและแก้ไขให้เป็นปกติ


2. การไหลย้อยของสี (SAGGING, FLOWING)

สาเหตุ
1. ความหนาของสีมากกว่า STANDARD ที่กำหนดไว้

2. การแห้งของสีช้าเกินไป

3. พ่นสีโดยใช้ความหนืดของสีต่ำ

4. ความดันแรงลมต่ำกว่ามาตราฐาน

5. เปิดปริมาณการใช้สีมากเกินไป

6. ใช้ทินเนอร์ผิดในการผสม

ควรพิจารณาดังนี้

STEP 1 1. บริเวณใดที่เกิดปัญหาการไหลย้อย?

2. ความหนาของสีกี่ไมครอนที่เกิดการไหลย้อย?

3. เวลาใดที่เกิดปัญหาการไหลย้อยของสี?



STEP 2 1. ผสมสีกับทินเนอร์ปกติหรือไม่? ทินเนอร์ถูก

เบอร์หรือไม่?

2. รับปริมาณของสีปกติหรือไม่?

3. ระยะระหว่างปืนกับชิ้นงานปกติหรือไม่, ความเร็วในการพ่นสีปกติหรือไม่?



วิธีการแก้ไข

1. ปรับปริมาณของสีลดลง

2. ปรับความหนืดของสีให้เพิ่มขึ้น

3. ปรับแรงดันลมให้ได้ตามมาตราฐานที่กำหนด

4. ตรวจสอบอัตราการไหลของสีให้ได้ตามมาตราฐาน

3. ฟิล์มสีบาง (FILM THIN)

สาเหตุ

1. ความหนาของฟิล์มสีน้อย

2. พ่นสีโดยใช้ความหนืดของสีต่ำ

3. ตรวจสอบอัตราการไหลของสี



ควรพิจารณาดังนี้

STEP 1 1. บริเวณใดที่เกิดปัญหาฟิล์มสีบาง?

2. ความหนาของสีกี่ไมครอน?

3. เวลาใดที่เกิดปัญหาฟิล์มสีบาง?



STEP 2 1. ผสมสีกับทินเนอร์ปกติหรือไม่?

2. ปรับปริมาณของสีปกติหรือไม่?

3. การพ่นสีปกติหรือไม่ (ระยะห่างระหว่างปืนกับชิ้นงาน, ความเร็วในการพ่นสี)

วิธีการแก้ไข

1. ปรับปริมาณของสีเพิ่มขึ้น

2. ปรับความหนืดของสีให้เพิ่มขึ้น

4. ฟิล์มสีเป็นหลุม (CRATERING, CISSING)

สาเหตุ
1. การล้างทำความสะอาดชิ้นงานและเครื่องมือพ่นสีไม่เพียงพอ

2. มีน้ำมันหรือฝุ่นละอองบนผิวชิ้นงาน

3. มีพนักงานบางคนสัมผัสผิวชิ้นงานด้วยมือ หรือถุงมือที่สกปรก

4. มีน้ำ, น้ำมันหรือสิ่งแปลกปลอมบางอย่างในสีหรือทินเนอร์

5. มีน้ำ หรือน้ำมันปะปนในท่อและสายลม



ควรพิจารณาดังนี้
STEP 1 1. เกิดฟิล์มสีเป็นหลุมที่บริเวณใด?

2. มีจำนวนหลุมที่เกิดขึ้นเท่าไหร่?

3. เกิดฟิล์มสีเป็นหลุมเวลาอะไร?



STEP 2 1. กระบวนการล้างชิ้นงานปกติหรือไม่?

2. มีน้ำมัน, ฝุ่นละออง หรือสิ่งแปลกปลอมตกลงบน

ชิ้นงานหรือไม่?

3. มีบางคนสัมผัสผิวชิ้นงานก่อนพ่นสีหรือไม่?

4. มีสิ่งแปลกปลอมในสีและทินเนอร์หรือไม่?

5. มีน้ำหรือน้ำมันปะปนในท่อและสายลมหรือไม่?



วิธีการแก้ไข

เมื่อพิจารณาแล้วว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ควรปรับปรุงและแก้ไขให้เป็นปกติ

5. ผิวส้ม (ORANGE PEEL)


สาเหตุ
1. พ่นสีโดยใช้ระยะห่างระหว่างปืนกับชิ้นงานมาก

2. ความหนาของฟิล์มสีน้อย

3. พ่นสีโดยใช้ความหนืดสูงกว่าปกติ

4. พ่นสีด้วยปืนไม่สมบูรณ์ (ตย. เช่น หัวปืนตัน)


ควรพิจารณาดังนี้

STEP 1 1. เกิดปัญหาผิวส้มที่บริเวณใด?

2. ความหนาของสีกี่ไมครอน?

3. เวลาใดที่เกิดปัญหาผิวส้ม?



STEP 2 1. ผสมสีกับทินเนอร์ปกติหรือไม่?

2. ปรับปริมาณของสีปกติหรือไม่?

3. การพ่นสีปกติหรือไม่ (ระยะห่างระหว่างปืนกับ

ชิ้นงาน, ความเร็วในการพ่นสี)

วิธีการแก้ไข

1. ปรับปริมาณของสีเพิ่มขึ้น

2. ปรับความหนืดของสีให้ลดลง

3. ตรวจสอบเครื่องมือพ่นสีให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์


6. ฟิล์มสีเป็นรูเข็มหรือเดือด (POPING)

สาเหตุ

1. ความหนาของสีมากกว่า STANDARD ที่กำหนดไว้

2. การแห้งของสีเร็วเกินไป

3. พ่นสีโดยใช้ความหนืดสูงกว่าปกติ

4. เวลา SETTING น้อย

5. ใช้ทินเนอร์ในการพ่นผิดเบอร์

6. อุณหภูมิในการอบสีสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด



ควรพิจารณาดังนี้

STEP 1 1. บริเวณใดที่เกิดการเดือด?

2. ความหนาของสีกี่ไมครอน?

3. เวลาใดที่เกิดปัญหาสีเดือด?

4. ตรวจสอบดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดก่อนหรือหลังการ

พ่นสี



STEP 2 1. ผสมสีกับทินเนอร์ปกติหรือไม่?

2. ปรับปริมาณของสีปกติหรือไม่?

3. การพ่นสีปกติหรือไม่ (ระยะห่างระหว่างปืนกับ

ชิ้นงาน, ความเร็วในการพ่นสี)



วิธีการแก้ไข

1. ปรับปริมาณของสีลดลง

2. ปรับความหนืดของสีลดลง

3. ปรับเวลา SETTING ให้มากขึ้น

4. ปรับอุณหภูมิของการอบสีให้อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด

1 ความคิดเห็น:

  1. ผมเป็นคนนึงคับ ที่ไม่ได้พ่นสีโดยตรง แต่มาพ่น2เคเลย เพราะผมทำเคสโทรศัพท์ขายคับ ปัญหา คือ ชอบมีเม็ดฟองอากาศเล็กๆ เกิดขึ้น ทั้งๆที่ผมติดตัวดักแล้ว หรือ เป็นเพราะความชื้นคับ เค้าบอกชิ้นงานต้องอุ่น เพราะฟองพวกนี้ เกิดจากความชื้นที่เกาะอยู่แต่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เท็จจริงยังงัย วานผู้รู้ช่วยตอบหน่อยคับ ขอบคุณคับ

    ตอบลบ