วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

เอกสาร อุปกรณ์สนง.

เอกสาร


ใบสั่งซื้อ (อังกฤษ: Purchase Order; P/O, P.O.) เป็นเอกสารข้อตกลงหรือสัญญาในเชิงพาณิชย์ ที่ออกโดยผู้ซื้อเพื่อสั่งซื้อพัสดุ สินค้าหรือบริการจากผู้ขาย โดยระบุชนิด จำนวน และราคา พร้อมทั้งอาจจะรวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ตามที่ได้ตกลงกับผู้ขาย

ใบเสร็จ


ใบเสนอราคา




อุปกรณ์ สนง

http://www.thaisecondhand.com

โต๊ะทำงาน
printer
fax
โทรศัพท์
Internet














วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูลการเคลมประกันรถยนต์

ความรู้เกี่ยวกับประกันภัย ที่น่าจะรู้ไว้


1. ใบขับขี่กับประกันภัย

หลายคนคิดว่าขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุ  เรียกประกันมา  ใบขับขี่ไม่มีทำไงดี  บางคนยัดเงินพนักงานเครม
บางคนเปลี่ยนคนขับ  ผมอยากชี้แจงให้ทราบว่าใบขับขี่จำเป็นต้องมีในกรณีเดียวคือเมื่อเกิดเหตุแล้วรถ
เจ้าของประกันภัยต้องการซ่อมรถตัวเอง  นอกนั้นไม่ต้องใช้   อาจไม่เห็นภาพนะครับลองมาดูกันต่อ


*** รถมีปะะกันชั้น 1  แล้ว ไปชนรถหรือทรัพย์สินคนอื่น ไม่ว่าอะไรก็ตาม  ประกันจะต้องรับผิดชอบคู่กรณีแทนท่านทุกกรณี  ไม่ว่าท่านจะชนรถ  ชนรั้วบ้าน  ชนคน ชนอะไรก็ได้ที่เป็นทรัพย์สินของคนอื่น  
ไม่ว่าท่านจะมีใบขับขี่หรือไม่ ประกันต้องจ่ายหมด    สิ่งที่แตกต่างระหว่าง มี กับไม่มี ใบขับขี่คือ
ถ้าท่านไม่มีใบขับขี่ประกันจะไม่ซ่อมรถให้ท่านแค่นั้น   ถ้าท่านขับรถไปชนท้ายเค้า แล้วมีใบขับขี่ประกัน
จะซ่อมรถให้ทั้ง 2 คัน  แต่ถ้าไม่มีประกันจะซ่อมแต่รถคู่กรณีไม่ซ่อมรถท่าน

กรณี ที่ท่านเปิดเคลมแห้ง (ไม่มีคู่กรณี)    ท่านที่มีชั้น 1 อยู่  อย่าปล่อยสิทธิให้เสียไป หากรถมีรอยขีดข่วน สะเก็ดหิน  อยากได้สีใหม่ เพียงแค่ใช้บุคคลที่มีใบขับขี่  โทรแจ้งขอเคลมสีของท่านได้


***  รถมีประกันชั้น 2 -3 ธรรมดา   ไม่ต้องกังวลใดๆ ท่านจะขับชนอะไรก็ตาม  ไม่ต้องมีใบขับขี่ประกันต้องรับผิดชอบหมด  ยกเว้นชั้น 2 กรณีรถหายหรือไฟไหม้จำเป็นต้องมี


*** รถที่มีประกันชั้น 2-3  พลัส  หรือ ประเภท 5   ลักษณะเดียวกับประกันชั้น 1   แต่จะแตกต่างตรงที่จะต้องเป็นรถชนรถ  รถที่มีป้ายทะเบียนเท่านั้น  จักรยาน  ซาเล้ง  ไม่เกี่ยว   รถชนรถ มีใบขับขี่ก็ซ่อมทั้งคู่   ไม่มีก็ซ่อมเฉพาะทรัพย์ที่เราชน


2. เมาสุรากับประกันภัย


ไม่ ต้องกังวลใดๆครับ  เงื่อนไข ของประกันภัย จะไม่รับผิดชอบให้ท่านต่อเมื่อท่านเมาในระดับแอลกอออล์เกิน 150    เพราะฉนั้นท่าท่านเมาไม่มากสิ่งที่ระวังคือตำรวจ  พยายามหลีกเลี่ยงการขึ้นโรงพัก  การเป่าอลกอฮอล์   เมื่อเกิดเหตุ  รุนแรงขนาดเข้าโรงบาล อย่าให้พยาบาลเจาะเลือดท่าน ถ้าไม่มีหลักฐานการตรวจประกันต้องจ่ายสถานเดียว จำไว้ถ้าท่าน  ไม่เมาจนเกินลิมิตประกันจ่ายคุณแน่แต่ระวังข้อหาเมาแล้วขับก็พอ (ผมเคยเมาแล้วโดนเป่า ออกมาได้ 187  เรียกว่าขับรถไม่ได้แล้วครับ)    ใบขับขี่ไม่ต้องซีเรียส โดนจับก็แค่ปรับ  



3. โดนชนแล้วหนี


ท่าน ที่มีประกันชั้น 1 หรือ 2--3 พลัส  หากโดนชนแล้วหนีท่านต้องจำทะเบียนรถคันนั้นให้ได้  แล้วเตรียมใบขับขี่ ถ้าไม่มี ให้หาคนมีใบขับขี่เอาไว้แล้วไปแจ้งความที่ สน ท้องที่นั้น  นำใบแจ้งความมาแล้วโทรแจ้งประกัน  ประกันจะส่งพนักงาน  เครมมาเครมให้    ถ้าท่านไม่ทราบเลขทะเบียนของคนที่ชนท่าน  สำหรับประกันชั้น 1 ให้แจ้งเป็นชนโน่นชนนี่ไม่มีคู่กรณี  ตามสภาพบาดแผลที่น่าจะเป็น  สำหรับ 2-3 พลัส .... อดไป



4. เลขทะเบียน  เลขเครื่อง   สีรถ  ภาษีขาด


อธิบาย สั้นๆง่ายๆว่าประกันยึดถือเลขตัวถังรถเป็นหลัก  ไม่ว่าป้ายไม่ตรง  เลขเครื่องไม่ตรง  สีไม่ตรง    ภาษีขาดต่อ  ไม่เกี่ยวข้อง  กับประกันภัย  ไม่ต้องซีเรียส  ไม่ต้องกลัวประกันไม่จ่าย   หากเลขตัวรถท่านตรงเป็นอัน แฮปปี้     ยกเว้นกรณีที่ประกันหาเลข  ตัวถังรถท่านไม่เจอ ประกันอาจขูดเลขเครื่องของท่านแทน



5. ใบขับขี่โดนยึด  หมดอายุ  หาย


หาก ใบขับขี่โดนยึดให้แสดงใบสั่งแทน  ประกันยึดถือแค่ว่าจะไม่คุ้มครองผู้ที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาติ เท่านั้น   หากหมดอายุก็แสดงไปใช้ได้ไม่มีปัญหา    หากโดนยึดก็แสดงใบสั่ง  หากหายถ้ามีสำเนาก็แสดงสำเนาหรือหากไม่มีในวันนั้นในวันที่เอารถเข้าซ่อมก็ เตรียมไปด้วยไม่งั้นอดซ่อม     และหากหายและไม่มีสำเนาก็ไปทำมาซะแต่ตอนเกิดเหตุต้องแจ้งว่ามีไว้ก่อน  ไม่ได้เอามาหรืออะไรก็ว่าไป  มีเวลาเรื่อยๆจนกว่าท่านเอารถเข้าซ่อม


6. เวลาเกิดเหตุกลางถนน


หาก ตกลงกันได้ว่าใครผิดใครถูก คนผิดยอมรับผิด  ให้เคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุทันที  อย่าไปจอดเกะกะชาวบ้าน ไม่จำเป็นต้องรอประกันมาถึง    หากไม่รู้ใครผิดให้ตำรวจตัดสินแล้วย้ายรถออกได้  หรือไม่มีตำรวจหากบังเอิญพกสีสเปร์มา ให้พ่นตำแหน่งที่ล้อทั้ง  2 คัน และบริเวณหน้า+ท้าย+ข้างของรถทั้ง 2 คัน   ไม่จำเป็นต้องไปโรงพักหากคุยกันได้ ยกเว้นการชนที่มีคู่กรณีมากกว่า 2 คัน  ถึงต้องไปโรงพัก  และคนที่ผิดต้องโดนปรับข้อหาขับรถโดยประมาท


7. ช่วงล่างกระแทกพัง  แมกซ์ดุ้ง ยางระเบิด  และ  อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์


ประกัน ชั้น 1 ต้องจ่ายให้ท่านทุกกรณีแต่ต้องมีใบขับขี่   หากท่านมีอุปกรณ์ตกแต่งราคาแพงต้องการคุ้มครองกรณีสูญหายให้ท่านเตรียมใบ เสร็จจากที่ร้านที่ท่านติดตั้ง  เช่น แมกซ์  เครื่องเสียง     แล้วโทรสอบถามเงื่อนไขการประกันภัย ให้ประกันเพิ่มสลักหลังคุ้มครองอุปกรณ์ตกแต่งนั้นๆ  ประกันจะคิดเบี้ยท่านเพิ่มแต่ไม่มาก   แต่ถ้าไม่ซีเรียสเรื่องหายก็ไม่ต้อง  เพราะหากแค่เสียหายก็ยังเหลือซากให้เห็นอยู่แล้ว     ยางที่ถูกกระแทกจนระเบิดประกันจะจ่ายครึ่งเดียวครับ  พวกยางแพงๆขอบ 19-20 ก็จัดไป
ส่วนที่เป็น 2-3 พลัส อดครับ  เว้นแต่ความเสียหายนั้นสืบเนื่องมากจากการชนกับของรถที่มีทะเบียน  -เช่น รถท่านโดนปาดหน้าจนเสียหลักพุ่งชนต้นไม้  ตกคลอง  กระแทกฟุตบาต   แบบนี้ประกันก็ต้องซ่อมให้ท่านครับไม่ใช่แค่แผลที่เกิดจากการปะทะระหว่างรถ กับรถ


8.  ชั้น 1 เคลมสีรถแล้วจะเปลี่ยนสี

สามารถทำได้ครับโดยให้แจ้งประกันว่าจะเปลี่ยนสี   ประกันยึดหลักการว่า เกิดเหตุจริง  ซ่อมจริง  หากคุณจะเปลี่ยนสีก็ไม่ใช่ปัญหา


9.  เคลมอะไหล่แล้วอยากเปลี่ยนเป็นอะไหล่แต่ง

สามารถ ทำได้ครับ เช่น ไฟหน้า ไฟท้าย  กันชน  สเกิร์ต โดยการเพิ่มเงิน ส่วนต่าง ถ้าอู่นั้นโอเคกับท่าน หรือมีอู่ที่ใช้ประจำก็ให้อู่ทำใบเสนอราคาแล้วนำรถไปที่บริษัทเพื่อคุมราคา (ตกลงราคา)   แล้วก็จัดซ่อมเอง  ทีนี้จะเปลี่ยนอะไรก็เปลี่ยนโลด  เสร็จแล้วประกันจะโอนเงินค่าซ่อมคืนให้กับท่าน


10.  ทุกครั้งที่รับใบแจ้งความเสียหาย หรือใบเคลม

ท่าน ต้องตรวจสอบความเสียหายให้ตรงตามจำนวนชิ้นให้แน่นอนก่อนเซ็นรับ  ผิดถูกให้แย้งและแก้ไขในรายการทันที ไม่งั้นส่วนที่ไม่ได้ลงท่านต้องซ่อมเองนะ   ในกรณีที่ในชิ้นนั้นมีบาดแผลมาก่อนไม่เกี่ยวกับเหตุครั้งนั้น  ประกันจะวงเล็บว่า  (แผลเก่า)  แปลว่าประกันจะให้ครึ่งราคาเพราะชิ้นส่วนนั้นไม่สมูรณ์ประกันจะไม่รับผิด ชอบเต็มท่านต้องร่วมจ่ายด้วย

11.  อยากทำประกันภัยแต่ไม่มีเอกสารใดๆของรถเลย

ถ้า อยากทำประกันแต่ไม่มีอะไีรสักอย่างทั้งเล่มทั้งสำเนาทะเบียนรถ  พรบ  ประกันของเดิม  ชื่อเจ้าของรถ  เอกสารเจ้าของรถ  ทุกอย่างนี้ไม่ใช่ปัญหาึครับ  เพียงแค่คุณจดทะเบียนรถและเลขตัวถังรถของคุณแล้วแจ้งกับผู้รับทำประกันเป็น อันเรียบร้อย  ส่วนชื่อผู้เอาประกันจะเป็นใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อเจ้าของรถ

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการซ่อมสีรถยนต์

ขั้นตอนการซ่อมสีรถยนต์

1.ล้างทำความสะอาดพี้นผิวที่ต้องการซ่อม ขัดเปิดหน้างาน ด้วยเครื่องปั่น ให้เห็นถึงเนื้อเหล็ก

2.เคาะชิ้นงานที่ต้องการซ่อมให้เข้ารูป และเรียบมากที่สุด

3.ขัด กระดาษทรายบนแผลและรอบๆ  พร้อมพ่นสีพื้นเกาะเหล็ก จำนวน 1 เที่ยว ในกรณีมีการซ่อมตั้งแต่ชั้นผิวโลหะ  หรือ พ่นสีรองพื้น 2K บนพื้นผิวสีเดิมในกรณีไม่ถึงผิวโลหะ (สีโป๊วรุ่นใหม่บางยี้ห้อสามารถโป๊วทับได้เลยไม่ต้องพ่นพื้นเกาะเหล็ก

4.ทำการโป้วด้วย สีโป้วเนื้อละเอียด พร้อมทำการแต่งเนื้อสีโป้วให้เรียบเข้ากับผิวชิ้นงาน  ด้วยกระดาษทราย

5.พ่นสีรองพื้น2K อีกครั้ง ประมาณ 2 เที่ยว  เมื่อแห้งแล้วจึงทำการขัดแต่งเก็บรอยเพื่อให้พื้นผิวเรียบด้วยกระดาษทราย ทิ้งให้แห้งสนิทไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง ส่วนมากจะเริ่มใหม่วันพรุ่งนี้เลยเพื่อป้องกันปัญหาตามมา แต่ถ้าต้องการเร็วใช้เครื่องอบอินฟาเรด 30 นาที แล้วทิ้งให้เย็นอีก 1 ชม. ก็ไปจอดรอพ่นได้

6.เมื่อแน่ใจว่าสีรองพื้น  มีความเรียบเนียน ไร้รูตามด หรือ ไร้รอยต่อระหว่างสีเดิมกับสีรองพื้นแล้ว  ก็สามารถพ่นสีจริงได้เลย

7.ขั้นตอนในการซ่อมสีจริง  ในกรณีซ่อมแผล  ต้องมีการแต่งสีโดยความชำนาญของช่างแต่งสี เพราะรถแต่ละคันผ่านการใช้งานมา  หรือแม้กระทั่งรถป้ายแดงก็จำเป็นต้องแต่งสีเพื่อให้สีที่ต้องการซ่อมกลมกลืนกับสีเดิมมากที่สุด  โดยส่วนใหญ่ทางช่างแต่งสีจะถอดฝาถังน้ำมันตัวรถ  มาเป็นตัวอย่างในการแต่งสี แล้วทำการพ่นสีเทียบกับฝาถังน้ำมันจนกว่า สีที่แต่งจะเหมือนหรือใกล้เคียงมากที่สุด  เมื่อแน่ใจแล้ว  ก็ทำการพ่นสีจริงได้เลย

8.พ่น สีจริงประมาณ 2-3 เที่ยว (2K) (กระป๋องละประมาณ 750 บาท ขึ้นไป) ขึ้นอยู่กับเฉดสี  เพราะสีบางเฉดกลบตัวยากเช่น สีมุก หรือ สีโปร่งๆ เพื่อกลบตัวเท่านั้น  โดยไม่จำเป็นต้องพ่นหนา  แต่ถ้าเป็นสี 1K แห้งเร็ว  (กระป๋องละประมาณ 400-550 บาท)และ สีไนโตรเซลลูโลส หรือ ภาษาช่างเรียกว่าสีเบอร์
ซึ่งบ้านเราจะมีประมาณ 2 ยี่ห้อ คือ  ตราพัด ตราผึ้ง  ซึ่งจะราคาถูกประมาณกระป๋องละ 300 กว่าบาท  ส่วนมากสีประเภทนี้จะนำมาพ่นรถแท็กซี่ หรือพ่นรถเต้นท์ย้อมแม้วราคาถูก  หรือไม่ก็สำหรับอู่บางอู่ที่โฆษณาว่าพ่นสี 2 K เต็มระบบ  ราคาถูก  ก็ให้สันนิษฐานได้เลยว่าคงเป็นสีประเภทนี้

9.เมื่อ พ่นสีจริงเที่ยวสุดท้ายเรียบร้อยแล้ว  ทิ้งช่วงประมาณ 10-15 นาที  หลังจากนี้ก็ทำการพ่นเคลียร์แล็กเกอร์ประมาณ 1-2 เที่ยว  เป็นอันเสร็จ เข้าห้องพ่นใช้เวลาไม่นาน พ่น 3 รอบโดยประมาณ แล้วแต่สีว่าพ่นกลบสีพื้นได้ง่ายหรือยาก พ่นสีจริงเสร็จก็ล้างกาว รอสัก 5 - 10 นาที ก็ผสมเคลียร์ พ่นเคลียร์ทับ แล้วเปิดให้ห้องอบราวๆ 20 - 30 นาที จากนั้นเข็นรถออกมาจอดตากลม หรือแดด ราวๆ 2 - 3 ชม

10.เมื่อ พ่นสีจริงและเคลียร์เรียบร้อยแล้ว  ควรทิ้งให้เคลียร์แล็กเกอร์แห้งผิวไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง แล้วค่อยทำการขัดเงา (ขั้นตอนการขัดเงา  บางครั้งอาจไม่จำเป็น  หรือ ยิ่งทิ้งไว้ให้นานแล้วค่อยมาขัดจะยิ่งดี  จะทำให้ผิวเคลียร์มีความแข็ง เงางามทนทาน)


วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาการทำสีรถยนต์

ปัญหาสีย่น สีแตกลายงา

สี ย่น หรือสีแตกลายงา เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น ได้จากหลายสาเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นอู่มาตรฐาน หรืออู่ข้างทาง เพราะขึ้นอยู่กับฝีมือ ความสามารถและ ประสบการณ์ของช่างพ่นสี บางครั้งเกิดขึ้นได้ ในขั้นตอนการทำงาน บางครั้งเกิดขึ้นหลังจาก ส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าไปแล้ว นานหลายเดือนก็มี สามารถแยกสาเหตุใหญ่ๆได้ดังนี้

1. เกิดจากช่างพ่นสีทิ้งช่วงระยะเวลาระหว่างพ่นน้อยเกินไป เนื่องจากพ่นสีหนาเกินไป ทำให้สีที่พ่นในเที่ยวแรก ยังแห้งตัวไม่สนิท แห้งไม่ทัน เมื่อพ่นทับในเที่ยวต่อไป ก็จะเกิดอาการย่นขึ้นมา สามารถแก้ไขได้โดยการลอกสีทิ้งแล้วพ่นใหม่

2. เกิดจากการโป๊วพลาสติค ที่มีความชื้นมากเกินไป เมื่อพ่นสีทับหน้าลงไป เกิดการระเหยตัวของความชื้นด้านใต้ ดันสีจนย่นหรือพองตัวขึ้นมา แก้ไขได้โดยลอกสีทิ้งถึงชั้นสีโป๊วพลาสติคแล้ว เริ่มขั้นตอนการทำงานใหม่

3. เกิด จากสีที่ใช้พ่นต่างชนิดกันกับ สีเดิมที่ใช้พ่นมา เช่นใช้สีแห้งเร็วพ่นทับสีแห้งช้า ก็เกิดปฏิกริยาเคมีทำให้เกิดสีย่นได้เช่นกัน ทางแก้ไขก็คือลอกทิ้ง พ่นใหม่

4. เกิด จากทินเนอร์ หรือ แลคเกอร์ หรือสารเคมีอื่นที่ใช้ เสื่อมคุณภาพ ก็ทำให้เกิดอาการสีย่นได้เช่นเดียวกัน ทางแก้ไขคือลอกทิ้งแล้วพ่นใหม่

5. อาการ แตกลายงา เกิดจากสีโป๊วเก็บรอย ที่ช่างเรียกกันว่า สีโป๊วแดง หนามากเกินไปเมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดอาการแตกร้าว ทางแก้ไขก็คือ ลอกทิ้งสถานเดียว

ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในการพ่นสี

1. ฝุ่นและสิ่งสกปรกในฟิล์มสี (PAINT SEED, DUST)

สาเหตุ

1. มีสิ่งผิดปกติในปืนพ่นสี. หัวปืน และสายลมในการพ่นสี

2. มีสิ่งสกปรกปะปนในสี หรือบนชิ้นงาน

3. มีฝุ่นละออกในห้องพ่น (ห้องพ่นสีเป็นระบบเปิด)

ควรพิจารณาดังนี้
1. มีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรก ปะปนในหรือทินเนอร์หรือไม่?

2. มีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกบนชิ้นงานหรือไม่?

3. มีความผิดปกติในปืนพ่นสีหรือไม่?

4. มีฝุ่นละอองในบริเวณห้องพ่นสีหรือไม่?

วิธีการแก้ไข

เมื่อพิจารณาแล้วว่ามีสิ่งผิดปกติ ควรปรับปรุงและแก้ไขให้เป็นปกติ


2. การไหลย้อยของสี (SAGGING, FLOWING)

สาเหตุ
1. ความหนาของสีมากกว่า STANDARD ที่กำหนดไว้

2. การแห้งของสีช้าเกินไป

3. พ่นสีโดยใช้ความหนืดของสีต่ำ

4. ความดันแรงลมต่ำกว่ามาตราฐาน

5. เปิดปริมาณการใช้สีมากเกินไป

6. ใช้ทินเนอร์ผิดในการผสม

ควรพิจารณาดังนี้

STEP 1 1. บริเวณใดที่เกิดปัญหาการไหลย้อย?

2. ความหนาของสีกี่ไมครอนที่เกิดการไหลย้อย?

3. เวลาใดที่เกิดปัญหาการไหลย้อยของสี?



STEP 2 1. ผสมสีกับทินเนอร์ปกติหรือไม่? ทินเนอร์ถูก

เบอร์หรือไม่?

2. รับปริมาณของสีปกติหรือไม่?

3. ระยะระหว่างปืนกับชิ้นงานปกติหรือไม่, ความเร็วในการพ่นสีปกติหรือไม่?



วิธีการแก้ไข

1. ปรับปริมาณของสีลดลง

2. ปรับความหนืดของสีให้เพิ่มขึ้น

3. ปรับแรงดันลมให้ได้ตามมาตราฐานที่กำหนด

4. ตรวจสอบอัตราการไหลของสีให้ได้ตามมาตราฐาน

3. ฟิล์มสีบาง (FILM THIN)

สาเหตุ

1. ความหนาของฟิล์มสีน้อย

2. พ่นสีโดยใช้ความหนืดของสีต่ำ

3. ตรวจสอบอัตราการไหลของสี



ควรพิจารณาดังนี้

STEP 1 1. บริเวณใดที่เกิดปัญหาฟิล์มสีบาง?

2. ความหนาของสีกี่ไมครอน?

3. เวลาใดที่เกิดปัญหาฟิล์มสีบาง?



STEP 2 1. ผสมสีกับทินเนอร์ปกติหรือไม่?

2. ปรับปริมาณของสีปกติหรือไม่?

3. การพ่นสีปกติหรือไม่ (ระยะห่างระหว่างปืนกับชิ้นงาน, ความเร็วในการพ่นสี)

วิธีการแก้ไข

1. ปรับปริมาณของสีเพิ่มขึ้น

2. ปรับความหนืดของสีให้เพิ่มขึ้น

4. ฟิล์มสีเป็นหลุม (CRATERING, CISSING)

สาเหตุ
1. การล้างทำความสะอาดชิ้นงานและเครื่องมือพ่นสีไม่เพียงพอ

2. มีน้ำมันหรือฝุ่นละอองบนผิวชิ้นงาน

3. มีพนักงานบางคนสัมผัสผิวชิ้นงานด้วยมือ หรือถุงมือที่สกปรก

4. มีน้ำ, น้ำมันหรือสิ่งแปลกปลอมบางอย่างในสีหรือทินเนอร์

5. มีน้ำ หรือน้ำมันปะปนในท่อและสายลม



ควรพิจารณาดังนี้
STEP 1 1. เกิดฟิล์มสีเป็นหลุมที่บริเวณใด?

2. มีจำนวนหลุมที่เกิดขึ้นเท่าไหร่?

3. เกิดฟิล์มสีเป็นหลุมเวลาอะไร?



STEP 2 1. กระบวนการล้างชิ้นงานปกติหรือไม่?

2. มีน้ำมัน, ฝุ่นละออง หรือสิ่งแปลกปลอมตกลงบน

ชิ้นงานหรือไม่?

3. มีบางคนสัมผัสผิวชิ้นงานก่อนพ่นสีหรือไม่?

4. มีสิ่งแปลกปลอมในสีและทินเนอร์หรือไม่?

5. มีน้ำหรือน้ำมันปะปนในท่อและสายลมหรือไม่?



วิธีการแก้ไข

เมื่อพิจารณาแล้วว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ควรปรับปรุงและแก้ไขให้เป็นปกติ

5. ผิวส้ม (ORANGE PEEL)


สาเหตุ
1. พ่นสีโดยใช้ระยะห่างระหว่างปืนกับชิ้นงานมาก

2. ความหนาของฟิล์มสีน้อย

3. พ่นสีโดยใช้ความหนืดสูงกว่าปกติ

4. พ่นสีด้วยปืนไม่สมบูรณ์ (ตย. เช่น หัวปืนตัน)


ควรพิจารณาดังนี้

STEP 1 1. เกิดปัญหาผิวส้มที่บริเวณใด?

2. ความหนาของสีกี่ไมครอน?

3. เวลาใดที่เกิดปัญหาผิวส้ม?



STEP 2 1. ผสมสีกับทินเนอร์ปกติหรือไม่?

2. ปรับปริมาณของสีปกติหรือไม่?

3. การพ่นสีปกติหรือไม่ (ระยะห่างระหว่างปืนกับ

ชิ้นงาน, ความเร็วในการพ่นสี)

วิธีการแก้ไข

1. ปรับปริมาณของสีเพิ่มขึ้น

2. ปรับความหนืดของสีให้ลดลง

3. ตรวจสอบเครื่องมือพ่นสีให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์


6. ฟิล์มสีเป็นรูเข็มหรือเดือด (POPING)

สาเหตุ

1. ความหนาของสีมากกว่า STANDARD ที่กำหนดไว้

2. การแห้งของสีเร็วเกินไป

3. พ่นสีโดยใช้ความหนืดสูงกว่าปกติ

4. เวลา SETTING น้อย

5. ใช้ทินเนอร์ในการพ่นผิดเบอร์

6. อุณหภูมิในการอบสีสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด



ควรพิจารณาดังนี้

STEP 1 1. บริเวณใดที่เกิดการเดือด?

2. ความหนาของสีกี่ไมครอน?

3. เวลาใดที่เกิดปัญหาสีเดือด?

4. ตรวจสอบดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดก่อนหรือหลังการ

พ่นสี



STEP 2 1. ผสมสีกับทินเนอร์ปกติหรือไม่?

2. ปรับปริมาณของสีปกติหรือไม่?

3. การพ่นสีปกติหรือไม่ (ระยะห่างระหว่างปืนกับ

ชิ้นงาน, ความเร็วในการพ่นสี)



วิธีการแก้ไข

1. ปรับปริมาณของสีลดลง

2. ปรับความหนืดของสีลดลง

3. ปรับเวลา SETTING ให้มากขึ้น

4. ปรับอุณหภูมิของการอบสีให้อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เรื่องสีพ่นรถยนต์



ช่วงที่ฝนตกบ่อย ๆ อย่างนี้ เวลาขับรถก็มักจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะสายฝนที่ตกลงมานั้นนอกจากจะทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่จะแย่ลงแล้ว ยังทำให้ถนนลื่นกว่าปกติอีกด้วย ดังนั้นเราจึงเห็นกันได้บ่อย ๆ ว่าพอฝนตกรถก็มักจะชนกัน เนื่องจากเบรกไม่อยู่

สำหรับคุณผู้อ่านที่ประสบอุบัติเหตุทั้งที่เป็นคนไปชนเขาและถูกเขามาชน หลังจากจัดการเรื่องประกันกับคู่กรณีกันเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวต้องเอารถเข้าอู่ไปซ่อมตัวถังและทำสีกันล่ะ ซึ่งคุณผู้อ่านก็ควรจะมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซ่อมสีรถยนต์เอาไว้ บ้าง เวลาคุยกับช่างจะได้รู้ว่าช่างเขาเอาสีแบบไหนมาพ่นรถเรา และสีแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

สีพ่นซ่อมรถยนต์ สรุปได้พอสังเขป  ดังนี้

1. สีมีหน้าที่หลักอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
      ก. เพื่อป้องกันพื้นผิววัสดุจากมลภาวะต่างๆ
      ข. เพื่อตกแต่งให้แลดูสวยงาม

2. สารประกอบหลักของสี มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทคือ
       ก. ผงสี (Pigment) เป็นสารที่มีความสามารถในการปิดบังพื้นผิวหรือซ่อนแสง ผงสีอาจเป็นสารประกอบอินทรีย์หรืออนินทรีย์ก็ได้
      ข. สารยึด (Binder) คือสารที่ทำหน้าที่ยึดประสานอนุภาคของสารประกอบในสีเข้าไว้ด้วยกัน ให้เกิดเป็นฟิล์มของสีติดแน่นกับพื้นผิวที่ถูกเคลือบ ตัวอย่างของสารยึด ได้แก่ นํ้ามันแห้งเร็ว (Drying Oil) เรซินธรรมชาติ เรซินสังเคราะห์ เป็นต้น สำหรับเรซินที่ใช้ในส่วนของสี พ่นรถยนต์จะนิยมใช้เรซินสังเคราะห์ เช่น ไนโตรเซลลูโลส อะครีคิด ยูรีเทน อีพอกซี เป็นต้น
      ค. ตัวทำละลาย (Solvent)มีหน้าที่ช่วยปรับความหนืดของสี เพื่อให้เหมาะต่อการผลิต หรือสะดวกต่อการใช้ ตัวทำละลายส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์
       ง. สารเติมแต่ง (Additives)เป็นสารที่เติมลงไปในสีเพียงเล็กน้อย  เพื่อช่วยให้สีมีคุณสมบัติที่พิเศษ เช่น ทำให้สีแห้งเร็วขึ้น ทำให้สีไม่ขึ้นรา เป็นต้น

3. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสีพ่นซ่อมรถยนต์
3.1  สี 1K    คือสีระบบ 1 องค์ประกอบ (1 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสีเพียงอย่างเดียว เมื่อนำมาใช้งานจะผสมกับตัวทำละลาย เช่น ทินเนอร์  สี 1K จะมีทั้งแบบแห้งเร็วและแห้งช้า
3.2  สี OEM   คือ สีที่ใช้ในโรงงานประกอบรถยนต์ สีชนิดนี้มีเพียงองค์ประกอบเดียว ในการใช้งานอาจนำมาผสมกับตัวทำละลายเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น สีชนิดนี้จะแห้งตัวโดยการการอบที่อุณหภูมิสูงประมาณ 120-160 oC จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สีอบ" (High Bake Paint)
3.3  สี 2K   คือสีระบบ 2 องค์ประกอบ (2 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสี ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 1 และตัวเร่งปฏิกิริยา (Hardener หรือ Activator) ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 2 โดยก่อนใช้งานต้องนำทั้ง 2 องค์ประกอบมาผสมกันตามอัตราส่วน เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัว (Chemical Drying)   สี 2K ที่ใช้ในงานพ่นสีรถยนต์ มี 2 ชนิด  คือ  สี 2K แบบ อีพ๊อคซี  และสี 2K แบบโพลียูริเทน  จึงมักเรียก สี 2K ว่า  สีแห้งช้า

4. เหตุผลที่ทำให้สี 2K มีคุณสมบัติดีกว่าสี 1 K
4.1   Durability – ความทนทาน รถยนต์ที่ซ่อมสีโดยใช้ระบบสี 2K จะคงสภาพเดิมและมีระยะเวลาคงสภาพเดิมได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี
4.2   Weather resistance – ความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
4.3   Chemical resistance – สามารถทนทานต่อสารเคมีต่างๆได้ดี เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบรก
4.4   Color retention – สามารถคงสภาพสีเดิม ไม่ซีดจางจากเดิมง่าย
4.5   Gloss – มีความเงางามสูง
4.6   ให้คุณสมบัติเหมือนสีรถที่ออกจากโรงงานประกอบรถยนต์ O.E.M ( Original Equipment Manufacturing

5. ส่วนประกอบหลักของระบบสี 2K
 สี 2K มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ
 1. ส่วนที่เป็นเนื้อสี ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
A   กาวหรือเรซิ่น (RESIN) หรืออาจเรียกว่า BINDER หรือ FILM FORMER ทำหน้าที่เป็นตัวยึดเกาะของส่วนประกอบอื่นๆของสี 
B   ผงสี  (PIGMENT)  เป็นสารที่ทำหน้าที่ในการปกปิดพื้นผิว  และทำให้เกิดสีสันต่างๆ เช่นดำ แดง เหลือง
C    ตัวทำละลาย  (SOLVENT)  ทำหน้าที่ในการช่วยให้ผงสีและเรซิ่น กระจายตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน  ทั้งยังทำหน้าที่ในการเจือจางหรือปรับความข้นเหลวของสีให้เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
D  สารปรับแต่ง  (ADDITIVE)  เป็นส่วนประกอบที่หน้าที่เพิ่มคุณสมบัติหรือลดข้อด้อยบางอย่างของสี  เช่น ช่วยให้ฟิล์มเรียบขึ้น  ช่วยป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเลตจากแสงอาทิตย์  ช่วยป้องกันการแยกตัวของผงสีและเรซิ่น  ป้องกันการตกตะกอน เป็นต้น
 2.   ส่วนที่เป็นตัวเร่งที่ทำให้สีแข็งตัว (Hardener หรือ  Activator)
ส่วนนี้จะแยกออกจากส่วนแรกโดยเด็ดขาด เมื่อจะนำสีไปใช้งานจึงค่อยผสมส่วนนี้ลงไป และน้ำยานี้ก็เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากถ้าไม่ใส่น้ำยานี้เข้าไปในสีและนำสีไปใช้ สีจะไม่แห้งแข็งเป็นฟิล์ม ซึ่งน้ำยานี้ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของไอโซไซยาเนท (Isocyanate)

6. การแห้งตัวของสี 
            ลักษณะการแห้งตัวของฟิล์มสีสามารถแบ่งได้  2  แบบ  คือ
              1. แห้งโดยกรรมวิธีทางฟิสิกส์  ( Physical Drying ) การแห้งด้วยวิธีการนี้เกิดจากการระเหยของตัวทำละลาย   กลายเป็นฟิล์มยึดติดกับผิวหน้าด้วยพันธะทุติยภูมิ  ( Secondary Force ) อย่างอ่อนๆ
  2. แห้งโดยกรรมวิธีทางเคมี  ( Chemical Drying ) ฟิล์มที่ได้จากการแห้งตัวโดยวิธีการนี้จะยึดติดกับผิวหน้าด้วยพันธะปฐมภูมิ  ( Primary Bond )  จากการเกิดปฎิกิริยาเคมี แบ่งได้ 2  แบบ  คือ
2.1. แห้งโดยการเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่น  สีประเภทนี้จะดูด ออกซิเจนในอากาศเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่น   ทำให้ขนาดอณูของสี ใหญ่ขึ้นจนรวมตัวเป็นฟิล์มแห้งแข็งตามต้องการ
            2.2. แห้งโดยการเกิดปฎิกิริยาเคมี   สีประเภทนี้ส่วนใหญ่บรรจุใน ภาชนะแยกกัน ก่อนใช้จึงนำมาผสมกันตามอัตราส่วนที่ผู้ผลิตแนะนำ  ซึ่งเมื่อผสมแล้วจะเกิดปฎิกิริยาเคมีได้เป็นฟิล์มที่แห้งแข็ง  ดังนั้นเมื่อผสมแล้วจึงต้องใช้ให้หมดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ถ้าปฎิกิริยาเกิดที่อุณหภูมิห้องจะเรียกว่าสีชนิดนี้ว่า สีบ่มเย็น ตัวอย่างเช่น ยูเรียเรซิน ( Urea Resin ) โพลิยูรีเทนเรซิน ( Polyurethane Resin )   เป็นต้น  แต่ถ้าการเกิดปฎิกิริยาต้องใช้  อุณหภูมิสูง   เรียกสีชนิดนี้ว่า  สีอบ (Stoving or baking coatings)

7. ความปลอดภัยในการปฎิบัติงานสี
          การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีนั้นเป็นงานที่อันตรายอย่างยิ่ง   ถ้าไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเองจากสารเคมีเหล่านั้นก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งในขณะปฏิบัติและในอนาคต    การป้องกันที่ดีและสามารถทำได้ก็คือ   การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเพื่อปกปิดร่างกายไม่ให้สัมผัสกับสารเคมีเหล่านั้นโดยตรง ในงานสีมีอุปกรณ์ความปลอดภัยอยู่หลายอย่าง  เช่น แว่นตา  หน้ากากป้องกันละอองสี   ชุดพ่นสี   ถุงมือ  เป็นต้น

8.อุปกรณ์สำหรับงานพ่นสี 
          ปืนพ่นสี (Spray Gun)
ปืนพ่นสี (Spray Gun)   ระบบการทำงานของปืนพ่นสีแบ่งออกเป็น  2 แบบ  คือ  
             1. ระบบแบบดูด
             2. ระบบแแบบอัด
                             
         1. ระบบแบบดูด  อากาศจะไหลผ่านบริเวณหัวสีของปืนพ่นสี   ทำให้เกิดเป็นสูญญากาศที่
  บริเวณดังกล่าวบวกกับแรงกดของแรงโน้มถ่วงทำให้สีไหล   ระบบแบบนี้ยังแบ่งเป็นปืนพ่นสีได้อีก  2  แบบ  คือ
             1.1 ปืนพ่นสีแบบถ้วยอยู่ด้านบน  (Gravity Feed Spray Gun)
            1.2 ปืนพ่นสีแบบถ้วยอยู่ด้านล่าง  (Suction Feed Spray Gun)
         2. ระบบแบบอัด  จะใช้แรงดันจากปั๊มที่ส่งมาอัดเข้าไปภายในถ้วยที่บรรจุสีและดันให้สีออก
มายังหัวสีของปืนพ่นสี   ระบบแบบนี้จำเป็นต้องมีวาล์วปรับแต่งแรงดันไม่เกินที่ถ้วยจะรับได้

9.ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบงานสีรถยนต์
          ปัญหาสีย่น สีแตกลายงา
             1. เกิดจากช่างพ่นสีทิ้งช่วงระยะเวลาระหว่างพ่นน้อยเกินไป เนื่องจากพ่นสีหนาเกินไป
             2. เกิดจากการโป๊วพลาสติค ที่มีความชื้นมากเกินไป เมื่อพ่นสีทับจึง เกิดการระเหยตัวของความชื้นด้านใต้ ดันสีจนย่นหรือพองตัว
             3. เกิด จากสีที่ใช้พ่นต่างชนิดกันกับ สีเดิมที่ใช้พ่นมา
             4. เกิด จากทินเนอร์ หรือ แล็คเกอร์ หรือสารเคมีอื่นที่ใช้ เสื่อมคุณภาพ
 5. อาการ แตกลายงา เกิดจากสีโป๊วเก็บรอย ที่ช่างเรียกกันว่า สีโป๊วแดง หนามากเกินไปเมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดอาการแตกร้าว ทางแก้ไขก็คือ ลอกทิ้งสถานเดียว
กรณีที่ 1 - 4 มักเกิดขึ้นในขณะทำการซ่อม ส่วนกรณีที่ 5 มัก เกิดหลังจากส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าไปแล้วนานหลายเดือน บางรายเป็นปีก็มี การลอกทิ้งเพื่อทำการแก้ไข บางกรณี อาจต้องขูดทิ้งถึงเนื้อเหล็กทำความสะอาดชิ้นงานใหม่ทั้งหมด ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากช่างพ่นสี ที่ต้องมีความรอบคอบ มีประสบการณ์ พิถีพิถันพอสมควร ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความเสียหายอย่างนี้

งานสีพ่นซ่อมรถยนต์
ในงานสีพ่นซ่อมรถยนต์  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้เรื่องสีและประเภทของสีที่ใช้ในงานพ่นซ่อมสี รถยนต์ รวมถึงคุณภาพของสีที่จะนำมาใช้ในงานพ่นสีซ่อมรถยนต์ ว่าสีที่นำมาใช้มีคุณภาพเป็นอย่างไร  มีการแห้งตัวดีหรือไม่  และในขั้นตอนการพ่นสีในแต่ละครั้งมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันสารเคมีดีมากน้อยเพียงใดมีความปลอดภัยหรือไม่  และต้องศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานทั้งขั้นตอนการเตรียมงานที่จะพ่นสี  ขั้นตอนการเตรียมสีหรือการผสมสีที่จะพ่น  ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์สำหรับพ่นสีจะต้องทำความสะอาดก่อนและหลังการพ่นสีทุกครั้ง  การพ่นสีจำต้องมีระบบลมเข้ามาช่วยเพื่อปรับแรงดันในพ่นสีนั้น  ต้องเรียนรู้ในการใช้ลมดันอย่างถูกต้องเพื่อจะได้เกิดความปลอดภัยในงานพ่นสี  ในการพ่นสีรถยนต์นั้นจำเป็นต้องมีที่พ่นสีโดยเฉพาะ  เพราะ ต้องคำนึงถึงการกรองอากาศที่ปนเปื้อนด้วยละอองสี ต้องกรองด้วยแผ่นกรองอากาศและแผ่นกรองละอองสีก่อนที่จะปล่อยอากาศที่สะอาด ออกไปภายในชั้นอากาศ   การใช้สี ที่มีคุณภาพ การใช้สถานที่ที่เหมาะสม การใช้อุปกรณ์ที่ดีในการพ่นสีรถยนต์แต่ก็ยังมีปัญหาที่ช่างพ่นสีต้องพึง ระวังและต้องทำการตรวจเช็คสภาพของสีก่อนส่งมอบรถให้กับลูกค้า ปัญหาต่างๆที่พบและเกี่ยวกับระบบงานสีรถยนต์  คือ  ปัญหาสีย่น และสีแตกลายงา  ปัญหาเหล่านี้เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การโป๊วสี  การพ่นสีทิ้งช่วงระยะ  การพ่นทินเนอร์หรืแล็คเกอร์ เป็นต้น
 
สำหรับสีที่ใช้พ่นรถยนต์กันในปัจจุบันจะแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่คือ สีโออีเอ็ม (Original Equipment Manufacturer) สีแบบ 1เค และสีแบบ 2เคสีแบบโออีเอ็มนั้นพูดกันแบบง่าย ๆก็คือสีที่ทำจากโรงงาน สีแบบนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีมากหลังจากเข้าห้องอบ จนสีแห้งตัวแล้วคือมีความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง มีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความเงางาม สามารถทนทานต่อสารเคมีต่าง ๆ หรือตัวทำละลายอย่างทินเนอร์ น้ำมันเบนซินหรือดีเซล และน้ำมันเบรกได้ดีมาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย

แต่ถ้าคุณอยากเอารถไปทำสีแบบนี้ เพื่อให้รถของคุณกลับมาสวยเงางามเหมือนเมื่อออกจากโชว์รูมใหม่ก็คงจะเป็น เรื่องยากอยู่สักหน่อย เพราะการอบแบบสีโออีเอ็มขนานแท้แบบโรงงานนั้น จะต้องใช้ห้องอบสีที่มีอุณหภูมิอบที่สูงมาก ประมาณ 120-160 องศาเซลเซียส ซึ่งที่อุณหภูมิสูงขนาดนี้ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ใช้โลหะไม่สามารถทนความร้อนได้แน่นอน ดังนั้นคุณต้องจัดการถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกให้หมด ซึ่งรับรองได้ว่าไม่สนุกแน่นอน ดังนั้นเรามองข้ามการพ่นสีแบบโออีเอ็มนี้ไปได้เลย

ทีนี้ก็มาถึงสีแบบ 1เค กับ 2เค ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เวลาซ่อมสีรถยนต์ สำหรับตัวเค (K) ที่ต่อท้ายเลข 1 กับ 2 นั้นเป็นคำย่อจากภาษาเยอรมันว่า คอนโพเนนต์ ซึ่งแปลว่าองค์ประกอบ ดังนั้นสี 1เค คือสีที่มีเนื้อสีเป็นส่วนประกอบเพียงอย่างเดียว เวลาจะใช้งานก็ต้องผสมเนื้อสีกับตัวทำละลาย สีจะแห้งตัวได้เมื่อตัวทำละลายระเหยไป ส่วนสี 2เค จะเป็นสีที่มี 2 องค์ประกอบคือมีเนื้อสีและตัวเร่งปฏิกิริยา  ซึ่งก่อนใช้งานต้องนำทั้ง 2 องค์ประกอบมาผสมกันตามอัตราส่วน เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมีและทำให้สีเกิดการแห้งตัว

สำหรับการพ่นซ่อมสีรถยนต์ในอู่หรือศูนย์ซ่อมสีทั่วไปนั้น ช่างจะเลือกใช้สีได้แค่ 2 แบบคือสี 1เค หรือสี 2เค เท่านั้น แต่ถ้าอยากจะให้งานสีออกมาดูดี อู่หรือศูนย์ซ่อมสีดี ๆ จะใช้สีแบบบ 2เค เนื่องจากมีคุณภาพโดยรวมที่ดีกว่าสี 1เค มากคือมีความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง ทนทานต่อสารเคมีและตัวทำละลาย เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซินหรือดีเซล และน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยมให้ความเงางามสูง รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดีจึงไม่ซีดจางง่าย โดยรวมแล้วมีคุณภาพใกล้เคียงกับสีจากโรงงานเลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน เวลาในการทำงานและค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าสี 1เค ด้วย

สี 1เค นั้นมักจะเป็นทางเลือกของลูกค้าที่มีงบน้อย ไม่เน้นความละเอียดของงาน ต้องการความรวดเร็ว อย่างงานซ่อมสีรถแท็กซี่ที่ต้องเอารถออกวิ่งหาเงินโดยเร็ว หรือบรรดาร้านขายรถมือสองที่ต้องเก็บรอยตำหนิต่าง ๆ ก่อนเอานำไปขายต่อเพื่อไม่ให้ราคาขายต่อตก แต่เมื่อเวลาผ่านไปสัก 2-5 ปี คุณภาพของสีที่ด้อยกว่าจะทำให้สภาพสีเปลี่ยนไป เช่น สีบวม ลอก หรือซีดจางลง เป็นต้น

สรุปโดยรวมแล้ว ถ้าเป็นรถบ้านที่มีประกันชั้น 1 หรือมีงบพอ แนะนำว่าควรจะเลือกใช้สีแบบ 2เค และควรสอบถามดูให้แน่ใจด้วยว่าสีที่อู่เอามาพ่นให้นั้นเป็นสีแบบที่เราต้องการจริง ๆ และต้องมีการรับประกันงานหลังจากทำสีแล้วด้วย เพื่อว่าเมื่อมีปัญหาภายหลังจะได้นำรถกลับไปให้ทางอู่แก้ไขได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย.